Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสวัสดิการสังคม
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
แผนการดำเนินงาน
รายงานผลการดำเนินงาน
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
กรอบอัตรากำลังพนักงานจ้าง 4 ปี
แผนพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาองค์ความรู้
รายงานการประชุมสภา
งานจัดเก็บรายได้
รายงานผลการปฏิบัติงาน
คุณธรรมและความโปร่งใส(ITA)
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน
การพัฒนาองค์ความรู้
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations:  ASEAN)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association  of  South East  Asia)         เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2504 เพื่อความร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดาเนินการไป   ได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration  of  ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มี 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย (พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์      เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น) ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมและเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น 

วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration)     มี  7 ประการ ดังนี้1) ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2) ส่งเสริมความมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3) ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4) ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5)  ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร           
และปรับปรุงมาตรฐานการดารงชีวิต
6) ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
คำขวัญอาเซียน  หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม : One Vision, One Identity, One Community
 ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก  
ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political-Security Community         หรือ APSC)
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือ ASCC)
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)
แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จะนาไปสู่การใช้กฎระเบียบการค้าในประเทศสมาชิกทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน (Harmonization  of  Rules  and  Regulations)
2.การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง  (HighlyCompetitive Economic Region) 
3.การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิกอาเซียน โดยพัฒนา SMEs           
และเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการความร่วมมือต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่ม        
ของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI)
4. การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก  ด้วยการเน้นและปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค ให้มีท่าทีร่วมกัน โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อให้เครือข่ายการผลิต/จาหน่ายภายในอาเซียนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก  
************************************************************************************************************
 ตากแดดวันละ 30 นาที
ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยง
โรคกระดูกพรุน
 
                การเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกายสามารถทำได้โดยการรับประทานน้ำมันตับปลา เนื้อปลา และวิตามินดีแบบเม็ด หรือการสร้างวิตามินด้วยตัวเองโดยรับแสงแดดผ่านทางผิวหนัง
                ทั้งนี้วิตามินดีเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์โดยจะไปช่วยยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid) ซึ่งเป็นฮาร์โมนอันตรายที่จะไปสลายแคลเซียมออกจากกระดูก นอกจากนี้แล้ววิตามินดียังช่วยสร้างสารออสธีโอเคลซิน (Osteocalcin) ช่วยดึงแคลเซียมเข้ามาในกระดูกและช่วยสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ทางหนึ่ง อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงการหกล้มของผู้สูงวัยได้ด้วย
                ร่างกายของมนุษย์จำเป็นต้องได้รับวิตามินดี 400 – 800 ยูนิตต่อวัน การเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกายนั้นสามารถทำได้โดยการรับประทานน้ำมันตับปลา เนื้อปลาและวิตามินดีแบบเม็ด หรือการสร้างวิตามินด้วยตัวเองซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุด นั่นคือการเปิดรับแสงแดดผ่านทางผิวหนังซึ่งแสงแดดมีคุณสมบัติในการสร้างวิตามินให้กับร่างกาย เช่น การออกกำลังกายกลางแจ้ง การเดินตากแดด เป็นต้น สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 08.00 – 10.00 น. และ 15.00 – 17.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดไม่แรงและไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังมากเกินไป เวลาเพียง 30 นาทีที่ผิวหนังเปิดรับแสงแดดเข้าสู่ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีให้กับร่างกายได้ถึง 200 ยูนิต เลยที่เดียว
                อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทำให้สุขภาพแย่ลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองซึ่งอยู่แต่ในบ้าน อยู่แต่ที่ทำงานในร่มไม่ถูกแสงแดดจะขาดมิตามินดีมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบทที่ต้องออกปำงานนอกบ้าน โดนแดดตามไร่นาทำให้ร่างกายได้รับแสงแดดไปช่วยสร้างวิตามินดีได้มากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง
                “ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีโอกาสถูกแดดน้อย จะต้องหมั่นให้ร่างกายได้รับแสงแดดบ่อย ๆ ต้องออกกำลังกายกลางแจ้ง เดินถูกแสงแดดบ้างตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะการถูกแสงแดดนาน ๆ จะช่วยสร้างวิตามินดีได้มาก และไม่ต้องกลัวว่าการที่วิตามินดีสะสมในร่างกายในปริมาณมากจะเป็นอันตราย เพราะร่างกายมีกระบวนการปกป้องและควบคุมด้วยตนเอง โดยร่างกายจะค่อย ๆ นำวิตามินดีที่สะสมออกมาใช้ และบางส่วนจะถูกแปลงให้เป็นวิตามินดีที่ไม่มีผลกระทบต่อร่างกายแต่อย่างใด
********************************************************************************************************

 
 
นักสูบควรตรวจสมรรถภาพปอด
เพื่อค้นหาปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะต้น
 
                โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่หรือสูดเอามลพิษเข้าไปในปอด ดังนั้น คนที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสมลพิษมาก ๆ ควรได้รบการตรวจสมรรถภาพปอดทุกคน เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นซึ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้นกว่าค้นพบในระยะท้ายแล้ว
                COPD    หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจซึ่งไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่หรือสูดเอามลพิษเข้าไปในปิดแล้วทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในหลอดลมและเนื้อปอดจนกระทั่งเนื้อปอดถูกทำลายและความยืดหยุ่นของปิดลดลง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการชัดเจน แต่หลังจากสูบบุหรี่มาได้ระยะหนึ่งจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรังและมักไอช่วงเช้า มีเสมหะ เมื่อเป็นมากขึ้นจะเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก บางครั้งหายใจมีเสียงวี้ดเป็นครั้งคราวซึ่งอันตรายมากหากตรวจพบช้าเกินไป ดังนั้นแม้เพิ่มเริ่มสูบบุหรี่ไม่นานและยังมีอาการไม่มากจึงควรตรวจสมรรถภาพปอดไว้เสียแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะเลวร้ายลงจนกระทั่งปิดไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้
                การตรวจสมรรถภาพปอดทำได้ง่าย ๆ โดยใช้เครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) แต่หากไม่มีเครื่องสไปโรมิเตอร์ ก็อาจจะใช้เครื่องฟีคโฟร์ มิเตอร์ (Peak flow meter) แทนได้ สมัยก่อนเชื่อว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่มีวิธีการรักษาแต่ปัจจุบันสามารถป้องกันและรักษาได้แล้ว โดยเป้าหมายของการรักษาคือคงสมรรถภาพการทำงานของปอดไว้ให้เสื่อมลงช้าที่สุด บรรเทาอาการของโรคให้ลดน้อยลงป้องกันการกำเริบของโรค และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนการรักษาปิดอุดกั้นเรื้อรังทำได้โดยการหยุดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาดเพื่อชะลอการเสื่อมสมรรถภาพของปอด ส่วนยากินและยาพ่นช่วยได้เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น
************************************************************************************************************************************************
 


ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์
19/4 หมู่ที่ 11 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24170
โทรศัพท์ : 0-3809-0740  โทรสาร : 0-3809-0743  อีเมล์ : bungnamrukk@hotmail.com

www.bungnamruk.go.th